ความสำคัญของธาตุ

ธาตุอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชมีบทบาทสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสงทำให้เอนไซม์ทำงานได้ตามปกติและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในขบวนการเมตาโบลิซึมขบวนการที่เซลล์หรือจุลินทรีย์ใช้สารอาหารมาเสริมสร้างการดำรงชีวิตและส่วนประกอบของโครงสร้างหรือไปแตกตัวสารต่างๆของเซลล์ให้อยู่ในรูปที่มีหน้าที่เฉพาะ

ธาตุอาหารพืชแบ่งเป็นธาตุอาหารหลักธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมซึ่งธาตุอาหารในแต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันออกไปดังนี้
 

1 ธาตุอาหารหลักมีหน้าที่สำคัญคือ

1) ธาตุไนโตรเจน ( N ) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนโปรตีนนิวคลีโอไทด์และคลอโรฟีลซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อขบวนการเมตาโบลิซึมของพืช

2) ธาตุฟอสฟอรัส ( P ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายเทพลังงานซึ่งเป็นขบวนการทางสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างยิ่ง

3) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) มีความจำเป็นต่อการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารและสารบางชนิดในพืชควบคุมการเปิด-ปิดของปากใบและเป็นธาตุที่กระตุ้นให้เอ็มไซม์ทำงาน
 

2 ธาตุอาหารรองมีหน้าที่สำคัญคือ

1) ธาตุกำมะถัน ( S ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนและเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโนบางชนิดโปรตีนและโคเอ็มไซม์อีกด้วย

2) ธาตุแคลเซียม ( Ca ) มีหน้าที่เกี่ยวกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพืชและเป็นธาตุที่กระตุ้นให้เอ็มไซม์บางชนิดทำงาน

3) ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) มีหน้าที่ในการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นประโยชน์และเป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์นอกจากนั้นยังเป็นตัวกระตุ้นให้เอ็มไซม์ทำงานเช่นเดียวกับแคลเซียม
 

3 ธาตุอาหารเสริมมีหน้าที่สำคัญคือ

1) ธาตุเหล็ก ( F e) เป็นส่วนประกอบของเหล็กพอไฟรีนและเฟอริด๊อกซินซึ่งเป็นสารที่สำคัญในขบวนการถ่ายเทอิเล็กตรอนของพืช

2) ธาตุแมงกานีส ( Mn ) มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นและรีดัคชั่นในขบวนการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนและเป็นตัวกระตุ้นให้เอ็มไซม์ทำงาน

3) ธาตุสังกะสี ( Zn ) มีหน้าที่เกี่ยวกับขบวนการเมตาโบลิซึมของอ๊อกซินซึ่งเป็นสารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชธาตุสังกะสียังมีหน้าที่ในการสร้างนิวคลีโอไทด์และเป็นส่วนประกอบของเอ็มไซม์ดีไฮโดจีเนสอีกด้วย

4) ธาตุทองแดง ( Cu ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างสารลิกนินและเป็นส่วนประกอบของเอ็มไซม์ ascobic acid oxidase

5) ธาตุโบรอน ( B ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างการใช้และการเคลื่อนย้ายนิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นสารที่สำคัญมากในขบวนการต่างๆทางสรีรวิทยาของพืชเช่นขบวนการที่ก่อให้เกิดพลังงาน

6) ธาตุโมลิบดีนัม ( Mo ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนในพืชชนิดต่างๆและการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่วโดยเป็นส่วนประกอบของเอ็มไซม์ไนเตรทรีดัคเตสและไนโตรจีเนส

7) ธาตุคลอรีน ( Cl ) มีหน้าที่ช่วยให้ประจุไฟฟ้าในเซลล์พืชเป็นกลางและเซลล์มีความเต่งน้ำ

 

ความสำคัญของธาตุ

ลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืชเป็นผลจากการที่พืชมีขบวนการเมตาโบลิซึมที่ผิดปกติลักษณะอาการที่พืชแสดงให้เห็นนั้นอาจชัดเจนบ้างหรือไม่ชัดเจนบ้างขึ้นอยู่กับความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดและปริมาณของธาตุอาหารที่พืชสามารถนาไปใช้ได้การที่ธาตุอาหารของพืชมีปริมาณไม่เพียงพอหรือไม่สามารถทาหน้าที่ได้เนื่องจากถูกจากัดด้วยปัจจัยหลายประการซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืชถ้าพืชขาดแคลนธาตุอาหารอย่างมากพืชจะแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจนแต่ถ้าพืชขาดแคลนธาตุอาหารปานกลางอาการที่แสดงออกมาอาจเห็นไม่ชัดเจนจึงจาเป็นต้องอาศัยความรู้เรื่องบทบาทของธาตุอาหารมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อจะได้ตัดสินได้ว่าพืชขาดธาตุอะไร

1. ลักษณะการขาดธาตุอาหารหลัก

1) ขาดธาตุไนโตรเจนพืชจะเจริญเติบโตช้าเนื่องจากขบวนการสร้างโปรตีนของพืชผิดปกติใบแก่ของพืชมีสีเหลืองเพราะคลอโรฟิลลดลงต่อมาใบแห้งและร่วง

2) ขาดธาตุฟอสฟอรัสต้นพืชมีขนาดเล็กลงกว่าปกติใบและต้นพืชอาจกลายเป็นสีเขียวจัดจนถึงสีม่วงเนื่องจากมีการสะสมคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) มากเกินไป

3) ขาดธาตุโพแทสเซียมต้นพืชแคระแกรนและมีสีเขียวซีดใบแก่อาจมีจุดแห้งตายหรือขอบใบแห้งใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบผิวใบเป็นมันเลื่อมกว่าปกติ

2 ลักษณะการขาดธาตุอาหารรอง

1) ขาดธาตุกามะถันต้นพืชมีการเจริญเติบโตช้าลงเหลืองทั้งต้นซึ่งมักจะเกิดกับใบอ่อนก่อนใบอ่อนอาจจะมีสีเหลืองบริเวณระหว่างเส้นกลางใบในขณะที่เส้นกลางใบยังเขียวเป็นปกติ

2) ขาดธาตุแคลเซียมพืชมีลาต้นแคระแกรนใบอ่อนมีสีเหลืองซีดไม่มีขอบใบทาให้ใบลีบยอดไม่เจริญเนื้อเยื่อใหม่มีสีเขียวอ่อนและคดงอระบบรากไม่ดีรากสั้นหนา

3) ขาดธาตุแมกนีเซียมใบแก่มีสีเหลืองโดยขอบใบและบริเวณระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจนอาจมีสีแดงเกิดตามแถบสีเหลืองบนใบด้วยถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียมอย่างรุนแรงใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของต้นจะตายใบ

3 ลักษณะการขาดธาตุอาหารเสริม

1) ขาดธาตุเหล็กใบสีเหลืองซีดโดยจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนโดยที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ในขณะที่พื้นที่ระว่างเส้นใบมีสีเหลืองทาให้เกิดลวดลายของเส้นใบอย่างชัดเจนใบหนาเล็กและหยาบกระด้าง

2) ขาดธาตุแมงกานีสเกิดสีเหลืองระหว่างเส้นใบและพืชมีลำต้นแคระแกรนเมื่อเกิดอาการขาดอย่างรุนแรงจะเกิดบริเวณแห้งตายเป็นจุดๆหรือเป็นแถบ

3) ขาดธาตุสังกะสีลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีจะปรากฏให้เห็นชัดเจนใบพืชบางชนิดโดยทั่วไปที่ใบอ่อนจะเกิดอาการเหลืองระหว่าเส้นใบใบอ่อนมีขนาดเล็กมากบางครั้งไม่มีตัวใบเลยข้อสั้นมีลักษณะพุ่มเตี้ย

4) ขาดธาตุทองแดงจะปรากฏที่ยอดอ่อนใบอ่อนจะมีสีเหลืองและตายไปพืชผักที่ขาดธาตุทองแดงใบจะแห้งม้วนและไม่เต่งน้ำสาหรับในไม้ผลการผสมเกสรและการติดผลจะน้อยลง

5) ขาดธาตุโบรอนบริเวณที่กาลังเจริญจะตายตาอ่อนที่เพิ่งเกิดจะแตกเป็นกระจุกทำให้ยอดออกมาเป็นฝอยใบอ่อนจะหนาเป็นมันเกิดสีเหลืองบริเวณต้นก้านใบและก้านดอกอ่อนจะมีรอยแตกเป็นสีสนิมผลไม้แสดงอาการผิวแตก

6) ขาดธาตุโมลิบดีนัมใบสีเขียวซีดถึงเหลืองเจริญเติบโตช้าหรือใบอาจจะมีสีซีดและมีจุดสีน้ำตาลบนใบใบแก่ขอบใบจะไหม้

7) ขาดธาตุทองแดงพืชที่ขาดธาตุทองแดงอย่างรุนแรงจะมีสีเหลืองและแห้งตายบนบริเวณใบปลายใบจะเหี่ยวและตายในเวลาต่อมาการเจริญเติบโตของรากถูกจำกัด

ไนโตรเจน (N)

มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกนและให้ผลผลิตต่ำ​

ฟอสฟอรัส (P)

มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจาย ของราก ควบคุมการออกดอก ออกผล และการสร้าง เมล็ด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงแล้วกลายเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วง ลำต้นแกร็นไม่ผลิดอก ออกผล

โพแทสเซียม (K)

เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบ ไปสู่ผล ช่วยให้เติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืช แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้า ขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอผลผลิต ไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี​

แคลเซียม (CA)

เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาด ธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจ มีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตกและมีคุณภาพไม่ดี​

แมกนีเชียม (MG)

เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์ กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์ พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

กำมะถัน (S)

เป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน ถ้าขาดธาตุนี้ ทั้งใบบนและใบล่างจะมีสีเหลืองซีดและต้นอ่อนแอ

โบรอน (B)

ช่วยในการออกดอกและผสมเกสาร มีบทบาทสำคัญ ในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้าย ของฮอร์โมน การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจน และการแบ่งเซลล์ ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะตายแล้ว เริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้าง ก็จะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้งและเปรา​

ทองแดง (CU)

ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีน และแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าพืชขาด ธาตุนี้ ตายอดจะชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง และพืชทั้งต้นจะชะงักการเจริญเติบโต

คลอรีน (CI)

มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช ถ้าขาดธาตุนี้ พืชจะเหี่ยวง่าย ใบสีซีด และบางส่วนจะแห้งตาย​

เหล็ก (FE)

ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ มีบทบาทสำคัญ ในการสังเคราะห์แสงและหายใจ ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อน จะมีสีขาซีดในขณะที่ใบแก่ยังเขียวสด

แมงกานีส (MN)

ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอนไชม์ บางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลือง ในขณะที่ เส้นใบ ยังเขียว ต่อมาใบที่มีอาการดังกล่าวจะเหี่ยวแล้วร่วงหล่น​

โมลิบดินัม (MO)

ช่วยให้พืชใช้ในโตรเจนให้เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการ สังเคราะห์ โปรตีน ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะมีอาการคล้าย ขาดไนโตรเจน ใบมีลักษณะ โค้งคล้ายถ้วยปรากฏจุดเหลืองๆ ตามแผ่นใบ​

สังกะสี (ZN)

ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิเจน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและ ปรากฎสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

 

เมื่อมีการปลูกพืชลงบนดิน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เนื่องจากในขณะที่พืชมีการเจริญเติบโต พืชจะดูดดึงธาตุ อาหารในดินไป ใช้และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกไป จากพื้นที่ ธาตุอาหารที่สะสมอยู่ เหล่านั้นย่อมถูกนำออกไปจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ธาตุอาหารบางส่วนยังเกิดการสูญหายไปในรูปก๊าซ ถูกดินหรือสารประกอบในดินจับยึดไว้ บางส่วน ถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช หรือสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดิน ดังนั้นการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และในที่สุด ดินจะกลายเป็นดินเหลวปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไไป ในการปลูกพืชจึงต้องมี การใส่ปุ๋ยเพื่อ บำรุงดิน ช่วย เพิ่มธาตุอาหารพืชและคงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อยู่เสมอ